คนไทยในสมัยก่อนไม่พิถีพิถันในการตั้งชื่อบุตรหลานเท่าใดนัก ไม่คำนึงว่าเกิดวันไหนชื่อต้องขึ้นต้นด้วยอักษรอะไร คงตั้งชื่อเอาตามชอบใจ ส่วนมากก็ตั้งตามพ่อแม่ เช่น พ่อชื่อแสง ตั้งชื่อว่า สี เสริม สุข สม อะไรเหล่านี้ เป็นต้น และชื่อคนสมัยก่อนมักนิยมคำไทยแท้ มีพยางค์เดียวไม่ยาวเฟื้อย เรียกยากเขียนยากเหมือนสมัยนี้ จะมีก็เฉพาะในแวดวงขุนน้ำขุนนางเท่าน้ำที่นิยมชื่อยาว ๆ โดยเฉพาะพระนามของเจ้านายในราชสกุล ต้องมีนักปราชญ์ผุ้ชำนาญในเรื่องนี้โดยเฉพาะ เป็นคนคิดถวาย ยกเว้นพระมหากษัตริย์บางพระองค์ เช่นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯเท่านั้น ที่ทรงคิดพระนามพระเจ้าลูกยาเธอ และพระเจ้าลูกเธอด้วยพระองเอง
เล่ากันว่า เวลาเจ้าจอมประสูติพระราชโอรสหรือพระราชธิดา พระจอมเกล้าจะทรงคิดพระนามที่เหมาะสมให้ พร้อมพระราชนิพนธ์คาถาบาลีอวยพรให้เสร็จ อย่างเช่นคราวประสูติสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระองค์ทรงคิดพระนามให้พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร (อ่านว่า ดิดวอระกุมาน)ทรงนิพนธ์คาถาอวยพรให้เป็นภาษาบาลีแปลเป็นไทยว่า
ขอให้กุมารชื่อ"ดิศวรกุมาร"นี้จงมีความสุขทุกเมื่อ ขอจงมีอายุยืน มีวรรณะผ่องใส มีความและกำลัง มีปัญญาเฉียบแหลม มีปฎิภาณ มียศ มีความสุข มีฤทธิ์มาก ดำรงอยุ่ด้วยดีตลอดการลนาน อาจหาญในที่ทุกสถาน และขอจงรักษาสกุลวงศ์และจรรยาอันดีงาม ไดัชัยชนะเหนื่อศัตรูทั้งปวงขอให้บุตรเจ้าจอมมารดาชุ่มผู้มีชื่อว่า "ดิศวรกุมาร" นี้ จงมีความสุข มีอายุยืน มีฤทธิ์ตลอดไป ขอพระรัตนตรัย จงเป็นสรณะของเธอ และจงพิทักษ์รักษาเธอทุกเมื่อ เทอญ
สมเด็จกรมพระยาเทววงศ์วโรปการทรงเคยตั้งข้อสังเกตว่า พรที่พระราชทานพระราชโอรส พระราชฺธิดามีแปลก ๆ กันทุกองค์ และมักมีผลต่อพระชาตาของผู้ที่ได้รับพระราชทานพรเสมอ สมเต็จกรมพระยาดำรงค์ฯเองยังรับสั่งว่า พระธิดาของพระองค์อ่านดูแล้วพูดว่า "พรที่ทูลกระหม่อมปู่พระราชทานเสด็จพ่อ ไม่เห็นมีว่าให้มั่งมี" (เหตุนี้กระมังพระองค์จึงเป็นเจ้าที่ค่อนข้างจน แต่ก็รวยเกียรติคุณยิ่ง"
ที่น่่าสังเกตุคือ คำว่า "ติสสะ หรือ ดิศ" เป็นชื่อที่เป็นมงคลในพุทธศาสนาพระอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า ก็มีชื่อลงท้ายว่าติสสะ พระเถระที่เป็นประธานในการทำสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่สามก็ชื่อนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าจึงทรงนำเอามาตั้งพระนามพระราชโอรสเพื่อเป็นสิริมงคล เวลาที่ทรงคิดชื่อ ไม่เพียงแต่ทรงตรวจสอบตามหลักโหราศาสตร์เท่านั้น ยังทรงนำเอาเรื่องราวทางศาสนามาประกอบด้วย อย่างกรณีตั้งพระนามสมเด็จพระนามสมเต็จพระมาหสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสเป็นตัวอย่าง
ว่ากันว่า วันที่สมเต็จฯองค์นี้ประสูติมีพายุฝนตกหนักจนน้ำนองชาลาพระตำหนักทั้งที่ก่อนหน้านั้นท้องฟ้าแจ่มใสไม่มีเค้าฝนจะตกเลย พระราชบิดาทรงหวนรำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ ๆ ประทับนั่งใต้ต้นมุจลินท์ (ต้นจิก) ฝนตกหนัก มีพญานาคมาขดรอบพระองค์ แผ่พังพานเหนื่อพระเศียรบังลมและฝนให้ ครั้นฝนหายแล้วจึงจำแลงกายเป็นมานพน้อยเข้ามายืนเฝ้า ทรงเห็นว่าพระราชโอรสประสูติในเวลาอันเป็นมงคล เป็นนิมิตหมายจะเจริญรู่งเรื่องในอนาคต จึงทรงขนานนามว่า พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ แปลว่า "หนุ่มน้อยนาคจำแลงเป็นคน" หรือ "คนนาคน้อย"
มีเกร็ดขำ ๆ เกี่ยวกับพระนามนี้ว่า คราวหนึ่งพระจอมเกล้าฯ ตรัสถามเสด็จพระสังฆราชสาเมื่อครั้งยังเป็นพระศาสนโศภนว่า คนชื่อคนมีไหม พระศาสนโศภณถวายพระพรว่าไม่มี ทรงชี้ไปที่พระองศ์เจ้ามนุษย์นาคมานพ ซึ่งอยู่เบื้องพระปฤษฏางค์ว่า นี่ไงคนชื่อคน

วิธีการตั้งชื่อ ทำอย่างไร

การตั้งฉายาหรือชื่อพระ กับตั้งชื่อฆราวาสไม่เหมือนกัน คือ ฉายาพระใช้อักษรวรรคบริวารนำหน้า สำหรับฆราวาส ถ้าเป็นชายใช้อักษรวรรคเดชนำหน้าชื่อ หญิงใช้อักษรวรรคศรีนำหน้าชื่อ
1-อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ
2-ก ข ค ฆ ง
3-จ ฉ ช ซ ฌ ญ
4-ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ
5-บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม
6-ศ ส ษ ห ฬ ฮ
7-ด ต ถ ท ธ น
8-ย ร ล ว
หมายเลข 1 เป็นเครื่องหมายแทนวันอาทิตย์
หมายเลข 2-แทนวันจันทร์
หมายเลข 3-แทนวันอังคาร
หมายเลข 4-แทนวันพุธกลางวัน
หมายเลข 5-แทนวันพฤหัสบดี
หมายเลข 6-แทนวันศุกร์
หมายเลข 7-แทนวันเสาร์
หมายเลข 8แทนวันราหู หรือ วันพุธกลางคืน
เพื่อให้ง่ายในการใช้งานจึงสรุปได้เป็นดังนี้
อาทิตย์-บริวาร1 อายุ2 เดช3 ศรี4 มูละ7 อุตสาหะ5 มนตรี8 กาลกิณี6
จันทร์-บริวาร2 อายุ3 เดช4 ศรี7 มูละ5 อุตสาหะ8 มนตรี6 กาลกิณี1
อังคาร-บริวาร3 อายุ4 เดช7 ศรี5 มูละ8 อุตสาหะ6 มนตรี1 กาลกิณี2
พุูธ-บริวาร4 อายุ7 เดช5 ศรี8 มูละ6 อุตสาหะ1 มนตรี2 กาลกิณี3
พฤหัสบดี-บริวาร5 อายุ8 เดช6 ศรี1 มูละ2 อุตสาหะ3 มนตรี4 กาลกิณี7
ศุกร์-บริวาร6 อายุ1 เดช2 ศรี3 มูละ4 อุตสาหะ7 มนตรี5 กาลกิณี8
เสาร์-บริวาร7 อายุ5 เดช8 ศรี6 มูละ1 อุตสาหะ2 มนตรี3 กาลกิณี4
พุธกลางคืน-บริวาร8 อายุ6 เดช1 ศรี2 มูละ3 อุตสาหะ4 มนตรี7 กาลกิณี5
อักษรที่ห้ามใช้คืออักษรกาลกิณี

วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ชือ เพศ อ่าน แปล
ธดาภรณ์ หญิง ทะดากอน ทรงไว้ซึ่งเครื่งประดับ,ผู้ประดับประดา
ธนากร หญิง/ชาย ทะนากอน สร้างทรัพย์สิน,มั่งมี
ธนกฤต ชาย ทะนะกริด สร้างทรัพย์,ทำเงิน
ธนชิต ชาย ทะนะชิด ชนะด้วยทรัพย์
ธนโชติ ชาย ทะนะโชด รุ่งเรืองด้วยทรัพย์,มีทรัพย์มาก
ธนดล ชาย ทะนะดน บันดาลทรัพย์
ธนทัต ชาย ทะนะทัด มีทรัพย์
ธนธรณ์ หญิง/ชาย ทะนะทอน ทรงไว้ซึ่งทรัพย์,มีทรัพย์มาก
ธนนันท์ ชาย ทะนะนัน ยินดีในทรัพย์
ธนบูรณ์ ชาย ทะนะบูน เต็มไปด้วยทรัพย์,มีทรัพย์มาก
ธนพนธ์ ชาย ทะนะพน รวบรวมทรัพย์ประเสริฐ
ธนพร หญิง ทะนะพอน มีทรัพย์เป็นพร,มีทรัพย์ประเสริฐ
ธนภรณ์ หญิง ทะนะพอน ค้ำจุนทรัพย์,รักษาทรัพย์
ธนภัทร ชาย ทะนะพัด ดีงามด้วยทรัพย์,เจริญด้วยทรัพย์
ธนภูมิ ชาย ทะนะพูม พื้นที่แห่งทรัพย์
ธนลภย์ ชาย ทะนะลบ ได้ทรัพย์
ธนวัฒน์ ชาย ทะนะวัด เจริญด้วยทรัพย์
ธนวัต ชาย ทะนะวัด มีทรัพย์
ธนวันต์ ชาย ทะนะวัน มีทรัพย์
ธนวิชญ์ ชาย ทะนะวิด มีความรู้เรื่องทรัพย์
ธนวินท์ ชาย ทะนะวิน ได้ทรัพย์สิน ,มีทรัพย์
ธนะดี หญิง ทะนะดี ทรัพย์ดี
ธนัช ชาย ทะนัด เกิดจากทรัพย์,คนร่ำรวย
ธนัชชา หญิง ทะนัดชา เกิดจากทรัพย์
ธนัชญา หญิง ทะนัดชะยา ผู้รู้เรื่องเกี่ยวกับทรัพย์
ธนัชพร หญิง ทะนัดชะพอน มีพรอันเกิดจากทรัพย์
ธนัญญา หญิง ทะนันยา มีความรู้เรื่องทรัพย์
ธนัตถ์ ชาย ทะนัด มีความสำเร็จด้วยทรัพย์,มีกำไรคือทรัพย์
ธนัด ชาย ทะนัด ผู้ให้ทรัพย์,ผุ้ร่ำรวย
ธนาดุล ชาย ทะนาดุน มีทรัพย์นับไม่ได้,มีทรัพย์มาก
ธนานพ ชาย ทะนานบ มีทรัพย์ใหม่
ธนาภา หญิง ทะนาพา รุ่งเรื่องด้วยทรัพย์
ธนารีย์ หญิง ทะนารี มีทรัพย์อันประเสริฐ
ธนายุต ชาย ทะนายุด ขวนขวายในทรัพย์
ธนิก ชาย ทะนิก มีทรัพย์ หรือ ผู้ร่ำรวย
ธนิน ชาย ทะนิน มีทรัพย์
ธนิษฐ์ ชาย ทะนิด ชือดาวฤกษ์
ธนิษฐา หญิง ทะนิดถา มีทรัพย์อันน่าปรารถนา,ดาวไซหรือดาวกา
ธนิสร ชาย ทะนิดสอน เจ้าแห่งทรัพย์
ธนุส ชาย ทะนุด ธนู
ธเนศพล ชาย ทะเนดพน กำลังของผู้ยิ่งใหญ่ด้วยทรัพย์
ธมกร หญิง ทมมะกอน แสงจันทร์
ธมน หญิง ทะมน กำจัดมลทิน,สวย,ขมิ้น
ธมนต์ หญิง ทะมน กำจัดมลทิน
ธมนวรรณ หญิง ทะมนวัน มีผิวพรรณสวยงาม
ธมนันท์ หญิง/ชาย ทมมะนัน น่าเพลินเหมือนดวงจันทร์สวยเหมือนพระจันทร์
ธมวรรณ หญิง ทะมนวัน มีผิวพรรณงาม
ธยาน์ หญิง ทะยา ปัญญาเพ่งพินิจ
ธยานี หญิง ทะยานี ผู้มีปัญญาเพ่งพินิจ
ธรณ์ ชาย ทอน ทรงไว้,ความทรงจำ,แผ่นดิน
ธรณ์ธันย์ หญิง ทอนอัน ทรงไว้ซึ่งโชคดี
ธรณ์เทพ ชาย ทอนเทบ ผุ้เป็นเทวดาบนแผ่นดิน
ธรนันท์ ชาย ทอระนัด ทรงไว้ซื่งความบันเทิง,ทรงไว้ซึ่งความสุข
ธรรมธัช ชาย ทำมะทัด มีธรรมเป็นธง,เด่นด้วยธรรม
ธรรมนิตย์ ชาย ทำมะนิด มีธรรมมั่งคง,มีธรรมแท้
ธรรมปพน ชาย ทำปะพน มีคุณธรรมบริสุทธ์
ธรรมสรณ์ ชาย ทำมะสอน ผู้มีธรรมเป็นที่พึ่ง,ผู้มีความดีเป็นที่พึ่ง
ธรรศ ชาย ทัด ความกล้าหาญ,ความอหังการ
ธราเทพ ชาย ทะราเทบ ผู้เป็นประดุจเทพในแผ่นดิน
ธฤดี หญิง ทะรึดี ความมั่นคง,ความตั้งมั่น
ธฤต ชาย ทะริด มั่นคง,ตั้งมั่น
ธวัล หญิง ทะวัน ขาว,บริสุทธิ์,นวลงาม
ธวัลกร หญิง ทะวันกอน มีรัศมีนวลงาม
ธวัลฉวี หญิง ทะวันฉะหวี มีผิวนวลงาม
ธวัลพร หญิง ทะวันพอน บริสุทธิ์และประเสริฐ
ธวัลยา หญิง ทะวันยา บริสุทธิ์
ธวัลรัตน์ หญิง ทะวันรัด รัตนะอันบริสุทธิ์
ธวัลหทัย หญิง ทะวันหะไท มีใจบริสุทธิ์
ธัชชัย ชาย ทัดไช ธงชัย
ธัชธรรม ชาย ทัดทำ,ทัดชะทำ มีธรรมเป็นธงชัย
ธัชนนท์ ชาย ทัดชะนน มีความบันเทิงเป็นธงชัย
ธัชพรรณ หญิง ทัดชะพัน มีผิวพรรณเด่น,มีผิวพรรณเป็นธงชัย
ธัชพล ชาย ทัดพน,ทัดชะพน มีกำลังเด่น,เด่นทางพลัง
ธัญกร หญิง/ชาย ทันยะกอน สร้างสิริมงคล
ธัญจิรา หญิง ทันจิรา มีสิริมงคล
ธัญชนก หญิง ทันชะนก ให้เกิดสิริมลคล,ให้เกิดโชค
ธัญชนิต หญิง/ชาย ทันชะนิด ผู้ให้เกิดโชคดี,ให้เกิดสิริมงคล
ธัญทิพ หญิง ทันยะทิบ ข้าวทิพย์,มีโชคดีอย่างวิเศษ
ธัญเทพ ชาย ทันยะเทบ โชคดีดุจเทวดา
ธัญธร หญิง/ชาย ทันยะทอน ทรงไว้ซึ่งโชคดี
ธัญนพ ชาย ทันยะนบ ข้าวใหม่หรือมีโชคใหม่
ธัญพิชชา หญิง ทันพิดชา มีความรู้ดียิ่ง
ธัญพิมล หญิง ทันพิมน มีโชคดีและไร้มลทิน
ธัญพิสิษฐ์ ชาย ทันพิสิด โชคดีเป็นพิเศษ
ธัญมน หญิง ทันยะมน มีใจดียิ่ง
ธัญรดา หญิง ทันระดา ยินดีในสิ่งที่เป็นมงคล,พอในในสิ่งที่ดีเลิศ
ธัญรดี หญิ่ง ทันระดี มีความยินดีในสิริมงคล
ธัญวรัตม์ หญิง ทันวะรัด มีโชคและประเสริฐสูงสุด
ธัญวลัย หญิง ทันวะไล กำไลดีเลิศ
ธัญสมร หญิง ทันสมร หญิงสาวผู้โชคดี
ธัญสินี หญิง ทันสินี หญิงสาวงามผู้โชคดี
ธัญสิริ หญิง ทันยะสิริ โชคดีและเป็นมิ่งขวัญ
ธัญสุดา หญิง ทันสุดา ลูกสาวผู้โชคดี
ธันยชนก หญิง ทันยะชะนก ให้เกิดโชคดี
ธันยธรณ์ หญิง ทันยะทอน ทรงไว้ซึ่งโชคดี
ธันยบูรณ์ ชาย ทันยะบูน เต็มไปด้วยโชคลาภ
ธันยพร ชาย ทันยะพอน มีโชคอันประเสริฐ
ธันยมัย หญิง ทันยะไม สำเร็จด้วยโชคลาภ,ล้วนแล้วไปด้วยความมั่งมี
ธันยา ชาย ทันยา มีบุญ,มีโชค
ธาม ชาย ทาม ยศศักดิ์
ธารณ์ ชาย ทาน ทรงไว้,ค้ำจุนหรือดำรงไว้
ธาริณี หญิง ทารินี ทรงไว้
ธาริต ชาย ทาริต ดำรงไว้,ทรงไว้,ค้ำจุน
ธารี หญิง ทารี ผู้ทรงไว้,ธำรงไว้
ธารีย์ หญิง ทารี ควรทรงไว้
ธาวัน ชาย ทาวัน วิ่ง,ว่องไว้,บริสุทธิ์
ธาวัลย์ หญิง ทาวัน ความขาวเนียนงาม,ความสะอาด,ความบริสุทธิ์
ธาวิต ชาย ทาวิต บริสุทธิ์,วิ่ง,ว่องไว้
ธาวิน ชาย ทาวิน ผู้บริสุทธิ์,วิ่ง,ว่องไว
ธาวินี หญิง ทาวินี วิ่ง,วองไว,คล่องแคล่ว,บริสุทธิ์
ธิติ ชาย ทิติ ความเพียร,ความรู้,ความอดทน
ธิติวุฒิ ชาย ทิติวุด เจริญด้วยความเพียร ความอดทน ความรู้
ธิติสรณ์ ชาย ทิติสอน พึ่งความเพียร,ความอดทน,ความรู้
ธิติสรรค์ ชาย ทิติสัน สร้างสรรค์ความเพียร ควาทอดทน ความรู้
ธิปก ชาย ทิปก ผู้เป็นใหญ่,ผู้เป็นหัวหน้า
ธิษณ์ ชาย ทิด ฉลาด
ธิษณามดี หญิง ทิดสะนามะดี มีความคิดฉลาด
ธีเดช ชาย ทีเดด มีเดชคือความรู้,มีความรู้เป็นเดช
ธีทัต ชาย ทีทัด มีปัญญาเป็นธงชัย
ธีธัช ชาย ทีทัด มีปัญญาเป็นธงชัย
ธีนิดา หญิง ทีนิดา ผู้ถูกนำไปด้วยความรู้,ผู้ได้รับการแนะนำเพือปัญญา
ธีภพ ชาย ทีพบ มีปัญญา
ธีมา หญิง ทีมา ผุ้มีปัญญา
ธียศ ชาย ทียด มีความรุ้เป็นยศ
ธีรการต์ หญิง ทีกาน นักปราชญ์ผู้น่ารัก
ธีร์จุฑา หญิง ทีจุทา นักปราชญ์ผู้เป็นยอด
ธีรโชติ ชาย ทีระโชด ความรุ่งเรืองของปราชญ์
ธีรดา หญิง ทีระดา ยินดีในความรู้,ความเป็นนักปราชญ์
ธีรตา หญิง ทีระตา ยินดีในความรู้,ความเป็นนักปราชญ์
ธีรตี หญิง ทีระตี ความยินดีในความรู้
ธีรธรรม ชาย ทีระทัม คุณธรรมของนักปราชญ์
ธีร์ธวัช ชาย ทีทะวัด นักปราชญ์ผู้เป็นดุจธงชัย
ธีรนพ ชาย ทีระนบ นักปราชญ์ผุ้สดชื่น
ธีรนัย ชาย ทีระนัย นโยบายของนักปราชญ์,การแนะนำของนักปราชญ์
ธีรนาถ หญิง ทีระนาด ที่พึ่งของนักปราชญ์
ธีรนาฎ หญิง ทีระนาด หญิงงามที่ฉลาด
ธีรไนย ชาย ทีระนัย ผู้ที่นักปราชญ์พึงแนะนำ
ธีรภัทร ชาย ทีระพัด นักปราชญ์ผู้เจริญ
ธีรเมธ ชาย ทีระเมด ผู้มีปัญญาอย่างนักปราชญ์
ธีร์วรา หญิง ทีวะรา นักปราชญ์ผู้ประเสริฐ
ธีร์สุดา หญิง ทีสุดา ลูกสาวนักปราชญ์
ธีร์สุต ชาย ทีสุด ลูกนักปราชญ์
ธีรัช ชาย ทีรัด ผู้ฉลาดที่สุด
ธีราทร ชาย ทีราทอน เอื้อเฟื้อต่อนักปราชญ์
ธีราพร หญิ่ง ทีราพอน นักปราชญืผุ้ประเสริฐ
ธีริทธิ์ ชาย ทีริด นักปราชญ์ผุ้มีควาสสำเร็จ
ธีริศรา หญิง ทีริดสะรา นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่
ธีรุตม์ ชาย ทีรุด นักปราชญ์ผู้สูงสุด
ธีวรา ชาย ทีวะรา ประเสริฐด้วยความรู้
ธุวชิต ชาย ทุวะชิด ผู้ชนะเป็นนิตย์
ธุวพร หญิง ทุวะพอน ผู้มีพรยั่งยืน,ผู้เลิศตลอดกาลนาน
ธุววิช ชาย ทุวะวิด มีความรู้ยั่งยืน
ธุวานนท์ ชาย ทุวานน มีความยินดียั่งยืน,มีความสุขยั่งยืน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น