คนไทยในสมัยก่อนไม่พิถีพิถันในการตั้งชื่อบุตรหลานเท่าใดนัก ไม่คำนึงว่าเกิดวันไหนชื่อต้องขึ้นต้นด้วยอักษรอะไร คงตั้งชื่อเอาตามชอบใจ ส่วนมากก็ตั้งตามพ่อแม่ เช่น พ่อชื่อแสง ตั้งชื่อว่า สี เสริม สุข สม อะไรเหล่านี้ เป็นต้น และชื่อคนสมัยก่อนมักนิยมคำไทยแท้ มีพยางค์เดียวไม่ยาวเฟื้อย เรียกยากเขียนยากเหมือนสมัยนี้ จะมีก็เฉพาะในแวดวงขุนน้ำขุนนางเท่าน้ำที่นิยมชื่อยาว ๆ โดยเฉพาะพระนามของเจ้านายในราชสกุล ต้องมีนักปราชญ์ผุ้ชำนาญในเรื่องนี้โดยเฉพาะ เป็นคนคิดถวาย ยกเว้นพระมหากษัตริย์บางพระองค์ เช่นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯเท่านั้น ที่ทรงคิดพระนามพระเจ้าลูกยาเธอ และพระเจ้าลูกเธอด้วยพระองเอง
เล่ากันว่า เวลาเจ้าจอมประสูติพระราชโอรสหรือพระราชธิดา พระจอมเกล้าจะทรงคิดพระนามที่เหมาะสมให้ พร้อมพระราชนิพนธ์คาถาบาลีอวยพรให้เสร็จ อย่างเช่นคราวประสูติสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระองค์ทรงคิดพระนามให้พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร (อ่านว่า ดิดวอระกุมาน)ทรงนิพนธ์คาถาอวยพรให้เป็นภาษาบาลีแปลเป็นไทยว่า
ขอให้กุมารชื่อ"ดิศวรกุมาร"นี้จงมีความสุขทุกเมื่อ ขอจงมีอายุยืน มีวรรณะผ่องใส มีความและกำลัง มีปัญญาเฉียบแหลม มีปฎิภาณ มียศ มีความสุข มีฤทธิ์มาก ดำรงอยุ่ด้วยดีตลอดการลนาน อาจหาญในที่ทุกสถาน และขอจงรักษาสกุลวงศ์และจรรยาอันดีงาม ไดัชัยชนะเหนื่อศัตรูทั้งปวงขอให้บุตรเจ้าจอมมารดาชุ่มผู้มีชื่อว่า "ดิศวรกุมาร" นี้ จงมีความสุข มีอายุยืน มีฤทธิ์ตลอดไป ขอพระรัตนตรัย จงเป็นสรณะของเธอ และจงพิทักษ์รักษาเธอทุกเมื่อ เทอญ
สมเด็จกรมพระยาเทววงศ์วโรปการทรงเคยตั้งข้อสังเกตว่า พรที่พระราชทานพระราชโอรส พระราชฺธิดามีแปลก ๆ กันทุกองค์ และมักมีผลต่อพระชาตาของผู้ที่ได้รับพระราชทานพรเสมอ สมเต็จกรมพระยาดำรงค์ฯเองยังรับสั่งว่า พระธิดาของพระองค์อ่านดูแล้วพูดว่า "พรที่ทูลกระหม่อมปู่พระราชทานเสด็จพ่อ ไม่เห็นมีว่าให้มั่งมี" (เหตุนี้กระมังพระองค์จึงเป็นเจ้าที่ค่อนข้างจน แต่ก็รวยเกียรติคุณยิ่ง"
ที่น่่าสังเกตุคือ คำว่า "ติสสะ หรือ ดิศ" เป็นชื่อที่เป็นมงคลในพุทธศาสนาพระอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า ก็มีชื่อลงท้ายว่าติสสะ พระเถระที่เป็นประธานในการทำสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่สามก็ชื่อนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าจึงทรงนำเอามาตั้งพระนามพระราชโอรสเพื่อเป็นสิริมงคล เวลาที่ทรงคิดชื่อ ไม่เพียงแต่ทรงตรวจสอบตามหลักโหราศาสตร์เท่านั้น ยังทรงนำเอาเรื่องราวทางศาสนามาประกอบด้วย อย่างกรณีตั้งพระนามสมเด็จพระนามสมเต็จพระมาหสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสเป็นตัวอย่าง
ว่ากันว่า วันที่สมเต็จฯองค์นี้ประสูติมีพายุฝนตกหนักจนน้ำนองชาลาพระตำหนักทั้งที่ก่อนหน้านั้นท้องฟ้าแจ่มใสไม่มีเค้าฝนจะตกเลย พระราชบิดาทรงหวนรำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ ๆ ประทับนั่งใต้ต้นมุจลินท์ (ต้นจิก) ฝนตกหนัก มีพญานาคมาขดรอบพระองค์ แผ่พังพานเหนื่อพระเศียรบังลมและฝนให้ ครั้นฝนหายแล้วจึงจำแลงกายเป็นมานพน้อยเข้ามายืนเฝ้า ทรงเห็นว่าพระราชโอรสประสูติในเวลาอันเป็นมงคล เป็นนิมิตหมายจะเจริญรู่งเรื่องในอนาคต จึงทรงขนานนามว่า พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ แปลว่า "หนุ่มน้อยนาคจำแลงเป็นคน" หรือ "คนนาคน้อย"
มีเกร็ดขำ ๆ เกี่ยวกับพระนามนี้ว่า คราวหนึ่งพระจอมเกล้าฯ ตรัสถามเสด็จพระสังฆราชสาเมื่อครั้งยังเป็นพระศาสนโศภนว่า คนชื่อคนมีไหม พระศาสนโศภณถวายพระพรว่าไม่มี ทรงชี้ไปที่พระองศ์เจ้ามนุษย์นาคมานพ ซึ่งอยู่เบื้องพระปฤษฏางค์ว่า นี่ไงคนชื่อคน

วิธีการตั้งชื่อ ทำอย่างไร

การตั้งฉายาหรือชื่อพระ กับตั้งชื่อฆราวาสไม่เหมือนกัน คือ ฉายาพระใช้อักษรวรรคบริวารนำหน้า สำหรับฆราวาส ถ้าเป็นชายใช้อักษรวรรคเดชนำหน้าชื่อ หญิงใช้อักษรวรรคศรีนำหน้าชื่อ
1-อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ
2-ก ข ค ฆ ง
3-จ ฉ ช ซ ฌ ญ
4-ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ
5-บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม
6-ศ ส ษ ห ฬ ฮ
7-ด ต ถ ท ธ น
8-ย ร ล ว
หมายเลข 1 เป็นเครื่องหมายแทนวันอาทิตย์
หมายเลข 2-แทนวันจันทร์
หมายเลข 3-แทนวันอังคาร
หมายเลข 4-แทนวันพุธกลางวัน
หมายเลข 5-แทนวันพฤหัสบดี
หมายเลข 6-แทนวันศุกร์
หมายเลข 7-แทนวันเสาร์
หมายเลข 8แทนวันราหู หรือ วันพุธกลางคืน
เพื่อให้ง่ายในการใช้งานจึงสรุปได้เป็นดังนี้
อาทิตย์-บริวาร1 อายุ2 เดช3 ศรี4 มูละ7 อุตสาหะ5 มนตรี8 กาลกิณี6
จันทร์-บริวาร2 อายุ3 เดช4 ศรี7 มูละ5 อุตสาหะ8 มนตรี6 กาลกิณี1
อังคาร-บริวาร3 อายุ4 เดช7 ศรี5 มูละ8 อุตสาหะ6 มนตรี1 กาลกิณี2
พุูธ-บริวาร4 อายุ7 เดช5 ศรี8 มูละ6 อุตสาหะ1 มนตรี2 กาลกิณี3
พฤหัสบดี-บริวาร5 อายุ8 เดช6 ศรี1 มูละ2 อุตสาหะ3 มนตรี4 กาลกิณี7
ศุกร์-บริวาร6 อายุ1 เดช2 ศรี3 มูละ4 อุตสาหะ7 มนตรี5 กาลกิณี8
เสาร์-บริวาร7 อายุ5 เดช8 ศรี6 มูละ1 อุตสาหะ2 มนตรี3 กาลกิณี4
พุธกลางคืน-บริวาร8 อายุ6 เดช1 ศรี2 มูละ3 อุตสาหะ4 มนตรี7 กาลกิณี5
อักษรที่ห้ามใช้คืออักษรกาลกิณี

วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ชื่อ เพศ อ่าน แปล

ญาณกร ชาย/หญิง ยานะกอน ผู้สร้างความรู้,รุ่งเรืองด้วยความรู้
ญาณธร ชาย/หญิง ยานะทอน ทรงไว้ซึ่งความรู้
ญาณพัฒน์ ชาย ยานะพัด เจริญด้วยความรู้
ญาณพัฒน์ ชาย ยานะพัด ดีงามด้วความรู้
ญาณโรจน์ ชาย ยานะโรด รุ่งเรืองด้วยความรู้
ญาณวรุตม์ ชาย ยานะวะรุด มีความรู้ประเสริฐสุด
ญาณวุฒิ ชาย ยานะวุด เจริญด้วยความรู้
ญาณศรณ์ ชาย ยานาสอน มีความรู้ดุจนางฟ้า
ญาณสิริ ชาย ยานะสิหรี มีมิ่งขวัญคือความรู้
ญาณัจฉรา หญิง ยานัดฉะรา มีความรู้ดุจนางฟ้า
ญาณัช ชาย ยานัด เกิดมาเพื่อความรู้
ญาณัท ชาย ยานัด ผู้ให้ความรู้
ญาณันธร ชาย ยานันทอน ผู้ทรงไว้ซึ่งความรู้
ญาณากร ชาย ยานากอน บ่อเกิดแห่งความรู้
ญาณาธิป ชาย ยานาทิบ เป็นใหญ่ด้วยความรู้
ญาณิน ชาย ยานิน ผู้มีความรู้
ญาณิศา หญิง ยานิสา เป็นใหญ่ด้วยความรู้
ญาณี หญิง ยานี ผู้มีความรู้
ญาณุจจัย ชาย ยานุดใจ สะสมความรู้,มีความรู้มาก
ญาโณทัย ชาย ยาโนไท รุ่นอุทัยแห่งความรู้,รุ่งเรืองด้วยความรู้
ญาดา หญิง ยาดา ผู้รู้,นักปราชญ์
ญาตาวี หญิง ยาตาวี ผู้มีความรู้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น