คนไทยในสมัยก่อนไม่พิถีพิถันในการตั้งชื่อบุตรหลานเท่าใดนัก ไม่คำนึงว่าเกิดวันไหนชื่อต้องขึ้นต้นด้วยอักษรอะไร คงตั้งชื่อเอาตามชอบใจ ส่วนมากก็ตั้งตามพ่อแม่ เช่น พ่อชื่อแสง ตั้งชื่อว่า สี เสริม สุข สม อะไรเหล่านี้ เป็นต้น และชื่อคนสมัยก่อนมักนิยมคำไทยแท้ มีพยางค์เดียวไม่ยาวเฟื้อย เรียกยากเขียนยากเหมือนสมัยนี้ จะมีก็เฉพาะในแวดวงขุนน้ำขุนนางเท่าน้ำที่นิยมชื่อยาว ๆ โดยเฉพาะพระนามของเจ้านายในราชสกุล ต้องมีนักปราชญ์ผุ้ชำนาญในเรื่องนี้โดยเฉพาะ เป็นคนคิดถวาย ยกเว้นพระมหากษัตริย์บางพระองค์ เช่นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯเท่านั้น ที่ทรงคิดพระนามพระเจ้าลูกยาเธอ และพระเจ้าลูกเธอด้วยพระองเอง
เล่ากันว่า เวลาเจ้าจอมประสูติพระราชโอรสหรือพระราชธิดา พระจอมเกล้าจะทรงคิดพระนามที่เหมาะสมให้ พร้อมพระราชนิพนธ์คาถาบาลีอวยพรให้เสร็จ อย่างเช่นคราวประสูติสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระองค์ทรงคิดพระนามให้พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร (อ่านว่า ดิดวอระกุมาน)ทรงนิพนธ์คาถาอวยพรให้เป็นภาษาบาลีแปลเป็นไทยว่า
ขอให้กุมารชื่อ"ดิศวรกุมาร"นี้จงมีความสุขทุกเมื่อ ขอจงมีอายุยืน มีวรรณะผ่องใส มีความและกำลัง มีปัญญาเฉียบแหลม มีปฎิภาณ มียศ มีความสุข มีฤทธิ์มาก ดำรงอยุ่ด้วยดีตลอดการลนาน อาจหาญในที่ทุกสถาน และขอจงรักษาสกุลวงศ์และจรรยาอันดีงาม ไดัชัยชนะเหนื่อศัตรูทั้งปวงขอให้บุตรเจ้าจอมมารดาชุ่มผู้มีชื่อว่า "ดิศวรกุมาร" นี้ จงมีความสุข มีอายุยืน มีฤทธิ์ตลอดไป ขอพระรัตนตรัย จงเป็นสรณะของเธอ และจงพิทักษ์รักษาเธอทุกเมื่อ เทอญ
สมเด็จกรมพระยาเทววงศ์วโรปการทรงเคยตั้งข้อสังเกตว่า พรที่พระราชทานพระราชโอรส พระราชฺธิดามีแปลก ๆ กันทุกองค์ และมักมีผลต่อพระชาตาของผู้ที่ได้รับพระราชทานพรเสมอ สมเต็จกรมพระยาดำรงค์ฯเองยังรับสั่งว่า พระธิดาของพระองค์อ่านดูแล้วพูดว่า "พรที่ทูลกระหม่อมปู่พระราชทานเสด็จพ่อ ไม่เห็นมีว่าให้มั่งมี" (เหตุนี้กระมังพระองค์จึงเป็นเจ้าที่ค่อนข้างจน แต่ก็รวยเกียรติคุณยิ่ง"
ที่น่่าสังเกตุคือ คำว่า "ติสสะ หรือ ดิศ" เป็นชื่อที่เป็นมงคลในพุทธศาสนาพระอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า ก็มีชื่อลงท้ายว่าติสสะ พระเถระที่เป็นประธานในการทำสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่สามก็ชื่อนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าจึงทรงนำเอามาตั้งพระนามพระราชโอรสเพื่อเป็นสิริมงคล เวลาที่ทรงคิดชื่อ ไม่เพียงแต่ทรงตรวจสอบตามหลักโหราศาสตร์เท่านั้น ยังทรงนำเอาเรื่องราวทางศาสนามาประกอบด้วย อย่างกรณีตั้งพระนามสมเด็จพระนามสมเต็จพระมาหสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสเป็นตัวอย่าง
ว่ากันว่า วันที่สมเต็จฯองค์นี้ประสูติมีพายุฝนตกหนักจนน้ำนองชาลาพระตำหนักทั้งที่ก่อนหน้านั้นท้องฟ้าแจ่มใสไม่มีเค้าฝนจะตกเลย พระราชบิดาทรงหวนรำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ ๆ ประทับนั่งใต้ต้นมุจลินท์ (ต้นจิก) ฝนตกหนัก มีพญานาคมาขดรอบพระองค์ แผ่พังพานเหนื่อพระเศียรบังลมและฝนให้ ครั้นฝนหายแล้วจึงจำแลงกายเป็นมานพน้อยเข้ามายืนเฝ้า ทรงเห็นว่าพระราชโอรสประสูติในเวลาอันเป็นมงคล เป็นนิมิตหมายจะเจริญรู่งเรื่องในอนาคต จึงทรงขนานนามว่า พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ แปลว่า "หนุ่มน้อยนาคจำแลงเป็นคน" หรือ "คนนาคน้อย"
มีเกร็ดขำ ๆ เกี่ยวกับพระนามนี้ว่า คราวหนึ่งพระจอมเกล้าฯ ตรัสถามเสด็จพระสังฆราชสาเมื่อครั้งยังเป็นพระศาสนโศภนว่า คนชื่อคนมีไหม พระศาสนโศภณถวายพระพรว่าไม่มี ทรงชี้ไปที่พระองศ์เจ้ามนุษย์นาคมานพ ซึ่งอยู่เบื้องพระปฤษฏางค์ว่า นี่ไงคนชื่อคน

วิธีการตั้งชื่อ ทำอย่างไร

การตั้งฉายาหรือชื่อพระ กับตั้งชื่อฆราวาสไม่เหมือนกัน คือ ฉายาพระใช้อักษรวรรคบริวารนำหน้า สำหรับฆราวาส ถ้าเป็นชายใช้อักษรวรรคเดชนำหน้าชื่อ หญิงใช้อักษรวรรคศรีนำหน้าชื่อ
1-อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ
2-ก ข ค ฆ ง
3-จ ฉ ช ซ ฌ ญ
4-ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ
5-บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม
6-ศ ส ษ ห ฬ ฮ
7-ด ต ถ ท ธ น
8-ย ร ล ว
หมายเลข 1 เป็นเครื่องหมายแทนวันอาทิตย์
หมายเลข 2-แทนวันจันทร์
หมายเลข 3-แทนวันอังคาร
หมายเลข 4-แทนวันพุธกลางวัน
หมายเลข 5-แทนวันพฤหัสบดี
หมายเลข 6-แทนวันศุกร์
หมายเลข 7-แทนวันเสาร์
หมายเลข 8แทนวันราหู หรือ วันพุธกลางคืน
เพื่อให้ง่ายในการใช้งานจึงสรุปได้เป็นดังนี้
อาทิตย์-บริวาร1 อายุ2 เดช3 ศรี4 มูละ7 อุตสาหะ5 มนตรี8 กาลกิณี6
จันทร์-บริวาร2 อายุ3 เดช4 ศรี7 มูละ5 อุตสาหะ8 มนตรี6 กาลกิณี1
อังคาร-บริวาร3 อายุ4 เดช7 ศรี5 มูละ8 อุตสาหะ6 มนตรี1 กาลกิณี2
พุูธ-บริวาร4 อายุ7 เดช5 ศรี8 มูละ6 อุตสาหะ1 มนตรี2 กาลกิณี3
พฤหัสบดี-บริวาร5 อายุ8 เดช6 ศรี1 มูละ2 อุตสาหะ3 มนตรี4 กาลกิณี7
ศุกร์-บริวาร6 อายุ1 เดช2 ศรี3 มูละ4 อุตสาหะ7 มนตรี5 กาลกิณี8
เสาร์-บริวาร7 อายุ5 เดช8 ศรี6 มูละ1 อุตสาหะ2 มนตรี3 กาลกิณี4
พุธกลางคืน-บริวาร8 อายุ6 เดช1 ศรี2 มูละ3 อุตสาหะ4 มนตรี7 กาลกิณี5
อักษรที่ห้ามใช้คืออักษรกาลกิณี

วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2552

คฑาวุธ-เพศชาย-อ่านว่า คะทาวุด-แปลว่า กระบอง
คณนาถ-เพศชาย-อ่านว่า คะนะนาด-แปลว่า ผุ้เป็นที่พึ่งของคนทั้งหลาย,นามหนึ่งของพระเณศ
คณภรณ์-เพศชาย-อ่านว่า คะนะพอน-แปลว่า บำรุงคณะ,ดูแลหมู่คณะ
คณิสนันท์-เพศชาย-อ่านว่า คะนัดสนัน-แปลว่า เป็นที่เพลิดเพลินของคณะ
คณิน-เพศชาย-อ่านว่า คะนิน-แปลว่า เป็นใหญ่ในคณะ,เป็นใหญ่กว่าคนทั้งหลาย
คณิศร-เพศชาย-อ่านว่า คะนิดสอน-แปลว่า ผู้เป็นใหญ่กว่าหมู่คนทั้งหลาย
คณุตม์-เพศชาย-อ่านว่า คะนุต-แปลว่า ประเสริฐกว่าคนทั้งหลาย
คนธวัลย์-เพศหญิง-อ่านว่า คนทะวัน-แปลว่า เถาวัลย์หอม
คมกริช-เพศชาย-อ่านว่า คมกริด-แปลว่า คมของกริช,อาวุธชนิดหนึ่ง
คมชาญ-เพศชาย-อ่านว่า คมชาน-แปลว่า ฉลาดเฉียบแหลม
คมน์-เพศชาย-อ่านว่า คม-แปลว่า ไป,ดำเนินไป
คมิก-เพศชาย-อ่านว่า คะมิก-แปลว่า ผู้เตรียมจะก้าวต่อไป
คริษฐ์-เพศชาย-อ่านว่า คะริด-แปลว่า ผู้ที่น่าบูชาที่สุด
คริษฐา-เพศหญิง-อ่านว่า คะริดถา-แปลว่า ผู้ที่น่าบูชาที่สุด
คันธรส-เพศหญิง-อ่านว่า คันทะรด-แปลว่า น้ำหอม
คันธนีรา-เพศหญิง-อ่านว่า คันทะนีรา-แปลว่า น้ำหอม
คันธารัตน์-เพศชาย-อ่านว่า คันทารัด-แปลว่า กลิ่นแก้ว
คารม-เพศชาย-อ่านว่า คารม-แปลว่า พูดแหลมคม
คิรากร-เพศชาย-อ่านว่า คิรากอน-แปลว่า กระทำซึ่งถอยคำ,พูดเก่ง,พูดดี
คุณัชญ์-เพศชาย-อ่านว่า ดุนัด-แปลว่า ผู้รู้คุณธรรม,ผุ้รู้ความดี
คุณัญญา-เพศหญิง-อ่านว่า คุนันยา-แปลว่า ผู้รู้คุณธรรม,ผู้รู้ความดี
คุณานนต์-เพศชาย-อ่านว่า คุนานน-แปลว่า มีคุณความดีมากมาย

ขจิต-เพศชาย-อ่านว่า ขะจิด-แปลว่า ประดับตกแต่ง
ขวัญจิรา-เพศหญิง-อ่านว่า ขวันจิรา-แปลว่า มีมิ่งขวัญประเสริฐ
ขวัญพร-เพศหญิง-อ่านว่า ขวันพอน-แปลว่า มิ่งขวัญประเสริฐ
ขวัญมนัิส-เพศหญิง-อ่านว่า ขวันมะนัด-แปลว่า ขวัญใจ
ขันติ-เพศชาย-อ่านว่า ขันติ-แปลว่า ความอดทน
ขัมน์-เพศชาย-อ่านว่า ขันติ-แปลว่า ความอดทน
ขีโรชา-เพศหญิง-อ่านว่า ขีโรชา-แปลว่า โอชะแม่น้ำนมหรือน้ำนมอร่อย
เขม-เพศชาย-อ่านว่า เขม-แปลว่า ความเกษม
เขมจิรา-เพศหญิง-อ่านว่า เขมจิรา-แปลว่า มีความปลอดภัยตลอดกาลนาน
เขมรุจิ-เพศหญิง,ชาย-อ่านว่า เขมรุจิ-แปลว่า ชอบความปลอดภัย
เขมทัต-เพศชาย-อ่านว่า เขมะทัต-แปลว่า ผู้ให้ความเกษม
เขมทิน-เพศชาย-อ่านว่า เขมะทิน-แปลว่า ผุ้ให้ความเกษม
เขมนันท์-เพศชาย-อ่านว่า เขมะนัน-แปลว่า ยินดีในความปลอดภัย
เขมิกา-เพศหญิง-อ่านว่า เขมิกา-แปลว่า ผุ้มีความเกษม
เขมินท์-เพศชาย-อ่านว่า เขมิน-แปลว่า มีความเกษมอันยิ่งใหญ่,ปลอดภัย
เขมินทรา-เพศหญิง-อ่านว่า เขมินทรา-แปลว่า มีความเกษมอันยิ่งใหญ่,ปลอดภัย
เขมิสรา-เพศหญิง-อ่านว่า เขมิดสะรา-แปลว่า ยอดแห่งความปลอดภัย