คนไทยในสมัยก่อนไม่พิถีพิถันในการตั้งชื่อบุตรหลานเท่าใดนัก ไม่คำนึงว่าเกิดวันไหนชื่อต้องขึ้นต้นด้วยอักษรอะไร คงตั้งชื่อเอาตามชอบใจ ส่วนมากก็ตั้งตามพ่อแม่ เช่น พ่อชื่อแสง ตั้งชื่อว่า สี เสริม สุข สม อะไรเหล่านี้ เป็นต้น และชื่อคนสมัยก่อนมักนิยมคำไทยแท้ มีพยางค์เดียวไม่ยาวเฟื้อย เรียกยากเขียนยากเหมือนสมัยนี้ จะมีก็เฉพาะในแวดวงขุนน้ำขุนนางเท่าน้ำที่นิยมชื่อยาว ๆ โดยเฉพาะพระนามของเจ้านายในราชสกุล ต้องมีนักปราชญ์ผุ้ชำนาญในเรื่องนี้โดยเฉพาะ เป็นคนคิดถวาย ยกเว้นพระมหากษัตริย์บางพระองค์ เช่นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯเท่านั้น ที่ทรงคิดพระนามพระเจ้าลูกยาเธอ และพระเจ้าลูกเธอด้วยพระองเอง
เล่ากันว่า เวลาเจ้าจอมประสูติพระราชโอรสหรือพระราชธิดา พระจอมเกล้าจะทรงคิดพระนามที่เหมาะสมให้ พร้อมพระราชนิพนธ์คาถาบาลีอวยพรให้เสร็จ อย่างเช่นคราวประสูติสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระองค์ทรงคิดพระนามให้พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร (อ่านว่า ดิดวอระกุมาน)ทรงนิพนธ์คาถาอวยพรให้เป็นภาษาบาลีแปลเป็นไทยว่า
ขอให้กุมารชื่อ"ดิศวรกุมาร"นี้จงมีความสุขทุกเมื่อ ขอจงมีอายุยืน มีวรรณะผ่องใส มีความและกำลัง มีปัญญาเฉียบแหลม มีปฎิภาณ มียศ มีความสุข มีฤทธิ์มาก ดำรงอยุ่ด้วยดีตลอดการลนาน อาจหาญในที่ทุกสถาน และขอจงรักษาสกุลวงศ์และจรรยาอันดีงาม ไดัชัยชนะเหนื่อศัตรูทั้งปวงขอให้บุตรเจ้าจอมมารดาชุ่มผู้มีชื่อว่า "ดิศวรกุมาร" นี้ จงมีความสุข มีอายุยืน มีฤทธิ์ตลอดไป ขอพระรัตนตรัย จงเป็นสรณะของเธอ และจงพิทักษ์รักษาเธอทุกเมื่อ เทอญ
สมเด็จกรมพระยาเทววงศ์วโรปการทรงเคยตั้งข้อสังเกตว่า พรที่พระราชทานพระราชโอรส พระราชฺธิดามีแปลก ๆ กันทุกองค์ และมักมีผลต่อพระชาตาของผู้ที่ได้รับพระราชทานพรเสมอ สมเต็จกรมพระยาดำรงค์ฯเองยังรับสั่งว่า พระธิดาของพระองค์อ่านดูแล้วพูดว่า "พรที่ทูลกระหม่อมปู่พระราชทานเสด็จพ่อ ไม่เห็นมีว่าให้มั่งมี" (เหตุนี้กระมังพระองค์จึงเป็นเจ้าที่ค่อนข้างจน แต่ก็รวยเกียรติคุณยิ่ง"
ที่น่่าสังเกตุคือ คำว่า "ติสสะ หรือ ดิศ" เป็นชื่อที่เป็นมงคลในพุทธศาสนาพระอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า ก็มีชื่อลงท้ายว่าติสสะ พระเถระที่เป็นประธานในการทำสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่สามก็ชื่อนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าจึงทรงนำเอามาตั้งพระนามพระราชโอรสเพื่อเป็นสิริมงคล เวลาที่ทรงคิดชื่อ ไม่เพียงแต่ทรงตรวจสอบตามหลักโหราศาสตร์เท่านั้น ยังทรงนำเอาเรื่องราวทางศาสนามาประกอบด้วย อย่างกรณีตั้งพระนามสมเด็จพระนามสมเต็จพระมาหสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสเป็นตัวอย่าง
ว่ากันว่า วันที่สมเต็จฯองค์นี้ประสูติมีพายุฝนตกหนักจนน้ำนองชาลาพระตำหนักทั้งที่ก่อนหน้านั้นท้องฟ้าแจ่มใสไม่มีเค้าฝนจะตกเลย พระราชบิดาทรงหวนรำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ ๆ ประทับนั่งใต้ต้นมุจลินท์ (ต้นจิก) ฝนตกหนัก มีพญานาคมาขดรอบพระองค์ แผ่พังพานเหนื่อพระเศียรบังลมและฝนให้ ครั้นฝนหายแล้วจึงจำแลงกายเป็นมานพน้อยเข้ามายืนเฝ้า ทรงเห็นว่าพระราชโอรสประสูติในเวลาอันเป็นมงคล เป็นนิมิตหมายจะเจริญรู่งเรื่องในอนาคต จึงทรงขนานนามว่า พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ แปลว่า "หนุ่มน้อยนาคจำแลงเป็นคน" หรือ "คนนาคน้อย"
มีเกร็ดขำ ๆ เกี่ยวกับพระนามนี้ว่า คราวหนึ่งพระจอมเกล้าฯ ตรัสถามเสด็จพระสังฆราชสาเมื่อครั้งยังเป็นพระศาสนโศภนว่า คนชื่อคนมีไหม พระศาสนโศภณถวายพระพรว่าไม่มี ทรงชี้ไปที่พระองศ์เจ้ามนุษย์นาคมานพ ซึ่งอยู่เบื้องพระปฤษฏางค์ว่า นี่ไงคนชื่อคน

วิธีการตั้งชื่อ ทำอย่างไร

การตั้งฉายาหรือชื่อพระ กับตั้งชื่อฆราวาสไม่เหมือนกัน คือ ฉายาพระใช้อักษรวรรคบริวารนำหน้า สำหรับฆราวาส ถ้าเป็นชายใช้อักษรวรรคเดชนำหน้าชื่อ หญิงใช้อักษรวรรคศรีนำหน้าชื่อ
1-อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ
2-ก ข ค ฆ ง
3-จ ฉ ช ซ ฌ ญ
4-ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ
5-บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม
6-ศ ส ษ ห ฬ ฮ
7-ด ต ถ ท ธ น
8-ย ร ล ว
หมายเลข 1 เป็นเครื่องหมายแทนวันอาทิตย์
หมายเลข 2-แทนวันจันทร์
หมายเลข 3-แทนวันอังคาร
หมายเลข 4-แทนวันพุธกลางวัน
หมายเลข 5-แทนวันพฤหัสบดี
หมายเลข 6-แทนวันศุกร์
หมายเลข 7-แทนวันเสาร์
หมายเลข 8แทนวันราหู หรือ วันพุธกลางคืน
เพื่อให้ง่ายในการใช้งานจึงสรุปได้เป็นดังนี้
อาทิตย์-บริวาร1 อายุ2 เดช3 ศรี4 มูละ7 อุตสาหะ5 มนตรี8 กาลกิณี6
จันทร์-บริวาร2 อายุ3 เดช4 ศรี7 มูละ5 อุตสาหะ8 มนตรี6 กาลกิณี1
อังคาร-บริวาร3 อายุ4 เดช7 ศรี5 มูละ8 อุตสาหะ6 มนตรี1 กาลกิณี2
พุูธ-บริวาร4 อายุ7 เดช5 ศรี8 มูละ6 อุตสาหะ1 มนตรี2 กาลกิณี3
พฤหัสบดี-บริวาร5 อายุ8 เดช6 ศรี1 มูละ2 อุตสาหะ3 มนตรี4 กาลกิณี7
ศุกร์-บริวาร6 อายุ1 เดช2 ศรี3 มูละ4 อุตสาหะ7 มนตรี5 กาลกิณี8
เสาร์-บริวาร7 อายุ5 เดช8 ศรี6 มูละ1 อุตสาหะ2 มนตรี3 กาลกิณี4
พุธกลางคืน-บริวาร8 อายุ6 เดช1 ศรี2 มูละ3 อุตสาหะ4 มนตรี7 กาลกิณี5
อักษรที่ห้ามใช้คืออักษรกาลกิณี

วันเสาร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2553

ชื่อ เพศ อ่าน แปล

จรณบูรณ์ ชาย จะระนะบูน ถึงพร้อมด้วยความประพฤติ
จรณะ ชาย จะระนะ ความประพฤติ
จรณา หญิง จะระนา ดำเนินไปข้างหน้า, ความประพฤติ
จรณินท์ ชาย จะระนิน เป็นใหญ่เพราะความประพฤติ (ดี)
จรณินทร์ ชาย จะระนิน เป็นใหญ่เพราะความประพฤติ
จรรยพร หญิง จันยะพอน มีความประพฤติประเสริฐ
จรรย์อมล หญิง จันอะมน ผู้มีความประพฤติไม่มีที่ติ
จรัสรวี ชาย จะหรัดระวี สว่างไสวดุจพระอาทิตย์, รุ่งเรืองดุจพระอาทิตย์
จริม ชาย จะริม ภายหลัง, เล็ก, น้อง
จักรดุลย์ ชาย จักกระดุน คุณธรรมที่นำไปสู่ความเจริญอย่างเสมอภาค
จักรธร ชาย จักกระทอน ทรงไว้ซึ่งจักร, พระราชา, พระนารายณ์
จักรภัทร ชาย จักกระพัด ผู้เจริญในแว่นเคว้น
จักริน ชาย จักกริน พระราชา, พระนารายณ์
จักษณา หญิง จักสะนา การพูด
จังคนิภา หญิง จังคะนิพา มีรัศมีงดงาม
จันทกร หญิง จันทะกอน แสงจันทร์
จันทกานต์ หญิง จันทะกาน ชื่อของแก้วมณีสีงามในนิยาย, ราตรีกาล,
ชายาพระจันทร์, งามดังพระจันทร์
จันทกานติ์ หญิง จันทะกาน แสงจันทร์
จันทนิภา หญิง จันทะนิพา แสงจันทร์, เหมือนพระจันทร์
จันทภา หญิง จันทะพา แสงจันทร์
จันทมณี หญิง จันทะมะนี แก้วมณีสีรุ้งดังพระจันทร์
จันทร์วลัย หญิง จันวะไล วงจันทร์, วงเดือน
จันทรัช หญิง/ชาย จันทะรัด ดาวพุธ
จันทรัสม์ หญิง/ชาย จันทะรัด เสมอจันทร์, เสมอแข
จันทัปปภา หญิง จันทับปะพา แสงจันทร์
จันทิมันตุ์ หญิง จันทิมัน พระจันทร์, เดือน
จาฎุพัจน์ หญิง จาตุพัด มีวัจนะน่าฟัง, พูดดี
จารวี หญิง จาระวี ผู้งดงาม
จารุกร หญิง จารุกอน รัศมีงาม, รัศมีดั่งทอง
จารุกัญญ์ หญิง จารุกัน หญิงสาวผู้ (งาม) ดังหนึ่งทอง
จารุกิตติ์ ชาย จารุกิด มีชื่อเสียงดีงาม
จารุเดช ชาย จารุเดด มีเดชงาม, งามด้วยเดช
จารุทัศน์ ชาย จารุทัด มีการเห็นหรือทัศนะงดงาม
จารุนิภา หญิง จารุนิพา ดุจทอง
จารุภา หญิง จารุพา รัศมีงาม, ผู้มีความงามผุดผ่อง
จารุมน หญิง จารุมน มีใจน่ารัก, มีใจงาม
จารุวิทย์ ชาย จารุวิด มีความรู้งาม, งามด้วยความรู้
จิณณ์ ชาย จิน ประพฤติแล้ว
จิณณธรรม ชาย จินนะทำ ประพฤติธรรม
จิณณพัต หญิง จินนะพัด ผู้ประพฤติตามระเบียบแบบแผน
จิณณวัตร ชาย จินนะวัด ประพฤติตามระเบียบแบบแผน
จิณพรต ชาย จินพะรด ประพฤติดี
จิณห์นิภา หญิง จินนิพา รัศมีแห่งเครื่องหมาย
หรือเครื่องหมายอันงดงาม
จิณห์วรา หญิง จินวะรา มีเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์อันประเสริฐ
จิณณะ ชาย จินนะ ประพฤติแล้ว
จิณณา หญิง จินนา ประพฤติแล้ว
จิดาภา หญิง จิดาพา มีรัศมีอันสะสมไว้แล้ว, รุ่งเรืองมาก
จิตตมาส หญิง จิดตะมาด เดือนจิตรมาส, เดือน 5
จิตตา หญิง จิดตา ชื่อนักษัตร
จิตบุณย์ ชาย จิตะบุน มีความดีที่ซึ่งสั่งสมไว้แล้ว, มีใจดีงาม
จิตรกัญญา หญิง จิดกันยา หญิงสาวที่สวยงาม
จิตรดิลก ชาย จิดดิหลก ยอดแห่งความงาม, มีเครื่องหมาย
(ไฝ, แต้ม) สวยงาม, จิตรกรเด่น
จิตรเทพ ชาย จิดตระเทบ เทวดาผู้งดงามหรือผู้สดใส
จิตรทิพย์ หญิง จิดตระทิบ งดงามและวิเศษยิ่ง
จิตรทิวัส ชาย จิดทิวัด วันอันแจ่มใส, สวรรค์อันงดงาม
จิตรทิวา หญิง จิดทิวา วันอันแจ่มใส
จิตรภณ ชาย จิดตระพน พูดดี, พูดไพเราะ
จิตรภาณุ ชาย จิดพานุ มีรัศมีสวยงาม, พระอาทิตย์
จิตรวรรณ หญิง จิดตระวัน ผู้มีผิวพรรณงดงาม
จิตรสินี หญิง จิดสินี สาวงาม
จิตรานุช หญิง จิดตรานุด หญิงสาวผู้สวยงาม
จิตริน ชาย จิดริน นักวาด, ศิลปิน
จิตสุภา หญิง จิดสุพา มีใจดี, มีใจงาม
จินต์จุฑา หญิง จินต์จุฑา มีความคิดเด่น, มีความคิดเป็นเลิศ
จินตพร หญิง จินตะพอน มีความคิดประเสริฐ
จินตภา หญิง จินตะพา มีความคิดเจิดจ้า
จินต์ศุจี หญิง จินสุจี ผู้มีความคิดบริสุทธิ์
จินห์จุฑา หญิง จินจุทา มีไฝเด่น, มีลักษณะดี
จิรกร ชาย จิระกอน กระทำตลอดกาลนาน
จิรกิตติ์ ชาย จิระกิด มีชื่อเสียงตลอดกาลนาน
จิรชยา หญิง จิระชะยา มีชัยนาน
จิรชีพ ชาย จิระชีบ มีชีวิตนาน, อายุยืน
จิรทีปต์ ชาย จิระทีบ รุ่งเรืองตลอดกาลนาน
จิรพนธ์ ชาย จิระพน เป็นที่รักที่ผูกพันนาน
จิรพัส ชาย จิระพัด มีอายุยืนนาน
จิรโพธิ ชาย จิระโพด มีความรู้ตลอดกาลนาน
จิรภัทร ชาย จิระพัด ผู้ดีงามตลอดกาลนาน
จิรภาส ชาย จิระพาด รุ่งเรืองนาน, รุ่งโรจน์ตลอด
จิรภิญญา หญิง จิระพินยา ความรู้ยั่งยืน
จิรเมธ ชาย จิระเมด มีความฉลาดนาน, มีความรู้ตลอดกาลนาน
จิรเวช ชาย จิระเวด หมอที่ยั่งยืน
จิรสิน ชาย จิระสิน มีทรัพย์ตลอดกาลนาน
จิรสุตา หญิง จิระสุตา ลูกสาวผู้ยั่งยืน
จิรัชญา หญิง จิรัดชยา ผู้รู้นาน, ฉลาดนาน
จิรัชยา หญิง จิรัดชยา มีชัยชนะตลอดกาลนาน
จิรัฎฐ์ ชาย จิรัด ดำรงมั่น, อยู่นาน
จิรันตน์ ชาย จิรัน ใหม่, อยู่นาน
จิรัศยา หญิง จิรัดสยา อยู่นาน
จิรัสย์ ชาย จิรัด ตลอดกาลนาน หรือนิรันดร
จิรัสยา หญิง จิรัดสยา ตลอดกาลนาน, นิรันดร
จิราเจต หญิง จิราเจด มีความคิดเป็นยอด
จิราพัชร หญิง จิราพัด ยั่งยืนดุจเพชร
จิราภา หญิง จิราพา รุ่งเรืองนาน
จิรายุ ชาย จิรายุ มีอายุยืน
จิรายุทธ ชาย จิรายุด รบนาน
จิลลา หญิง จินลา ว่าว
จิลลาภัทร หญิง จินลาพัด ดีงามดังกล่าว
จีรณะ ชาย จีระนะ ประพฤติแล้ว
จีรณา หญิง จีระนา ประพฤติแล้ว, ผู้คงแก่เรียน
จีริกา หญิง จีริกา การประกาศ
เจตดิลก ชาย เจดดิหลก มีความคิดเป็นเลิศ
เจตน์ ชาย เจด ความคิด, ความตั้งใจ
เจต์สฤษฎิ์ ชาย เจดสะหริด สร้างเจตนา, สร้างความคิดอ่าน
เจตนิพัทธ์ ชาย เจดนิพัด มีความคิดมั่นคง
เจตนิพิฐ หญิง เจดนิพิด มีความคิดมั่นคง
เจตปรียา หญิง เจดปรียา เป็นที่รักแห่งใจ
เจตสุภา หญิง เจดสุพา ผู้มีความคิดดีงาม
เจนจิรา หญิง เจนจิรา เชี่ยวชาญตลอดกาลนาน
เจนธรรม ชาย เจนทัม ผู้จัดเจนหรือผู้เชี่ยวชาญในธรรม
เจลกา หญิง เจละกา กระต่าย
เจียระไน หญิง เจียระไน ของที่ดีที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น