คนไทยในสมัยก่อนไม่พิถีพิถันในการตั้งชื่อบุตรหลานเท่าใดนัก ไม่คำนึงว่าเกิดวันไหนชื่อต้องขึ้นต้นด้วยอักษรอะไร คงตั้งชื่อเอาตามชอบใจ ส่วนมากก็ตั้งตามพ่อแม่ เช่น พ่อชื่อแสง ตั้งชื่อว่า สี เสริม สุข สม อะไรเหล่านี้ เป็นต้น และชื่อคนสมัยก่อนมักนิยมคำไทยแท้ มีพยางค์เดียวไม่ยาวเฟื้อย เรียกยากเขียนยากเหมือนสมัยนี้ จะมีก็เฉพาะในแวดวงขุนน้ำขุนนางเท่าน้ำที่นิยมชื่อยาว ๆ โดยเฉพาะพระนามของเจ้านายในราชสกุล ต้องมีนักปราชญ์ผุ้ชำนาญในเรื่องนี้โดยเฉพาะ เป็นคนคิดถวาย ยกเว้นพระมหากษัตริย์บางพระองค์ เช่นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯเท่านั้น ที่ทรงคิดพระนามพระเจ้าลูกยาเธอ และพระเจ้าลูกเธอด้วยพระองเอง
เล่ากันว่า เวลาเจ้าจอมประสูติพระราชโอรสหรือพระราชธิดา พระจอมเกล้าจะทรงคิดพระนามที่เหมาะสมให้ พร้อมพระราชนิพนธ์คาถาบาลีอวยพรให้เสร็จ อย่างเช่นคราวประสูติสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระองค์ทรงคิดพระนามให้พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร (อ่านว่า ดิดวอระกุมาน)ทรงนิพนธ์คาถาอวยพรให้เป็นภาษาบาลีแปลเป็นไทยว่า
ขอให้กุมารชื่อ"ดิศวรกุมาร"นี้จงมีความสุขทุกเมื่อ ขอจงมีอายุยืน มีวรรณะผ่องใส มีความและกำลัง มีปัญญาเฉียบแหลม มีปฎิภาณ มียศ มีความสุข มีฤทธิ์มาก ดำรงอยุ่ด้วยดีตลอดการลนาน อาจหาญในที่ทุกสถาน และขอจงรักษาสกุลวงศ์และจรรยาอันดีงาม ไดัชัยชนะเหนื่อศัตรูทั้งปวงขอให้บุตรเจ้าจอมมารดาชุ่มผู้มีชื่อว่า "ดิศวรกุมาร" นี้ จงมีความสุข มีอายุยืน มีฤทธิ์ตลอดไป ขอพระรัตนตรัย จงเป็นสรณะของเธอ และจงพิทักษ์รักษาเธอทุกเมื่อ เทอญ
สมเด็จกรมพระยาเทววงศ์วโรปการทรงเคยตั้งข้อสังเกตว่า พรที่พระราชทานพระราชโอรส พระราชฺธิดามีแปลก ๆ กันทุกองค์ และมักมีผลต่อพระชาตาของผู้ที่ได้รับพระราชทานพรเสมอ สมเต็จกรมพระยาดำรงค์ฯเองยังรับสั่งว่า พระธิดาของพระองค์อ่านดูแล้วพูดว่า "พรที่ทูลกระหม่อมปู่พระราชทานเสด็จพ่อ ไม่เห็นมีว่าให้มั่งมี" (เหตุนี้กระมังพระองค์จึงเป็นเจ้าที่ค่อนข้างจน แต่ก็รวยเกียรติคุณยิ่ง"
ที่น่่าสังเกตุคือ คำว่า "ติสสะ หรือ ดิศ" เป็นชื่อที่เป็นมงคลในพุทธศาสนาพระอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า ก็มีชื่อลงท้ายว่าติสสะ พระเถระที่เป็นประธานในการทำสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่สามก็ชื่อนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าจึงทรงนำเอามาตั้งพระนามพระราชโอรสเพื่อเป็นสิริมงคล เวลาที่ทรงคิดชื่อ ไม่เพียงแต่ทรงตรวจสอบตามหลักโหราศาสตร์เท่านั้น ยังทรงนำเอาเรื่องราวทางศาสนามาประกอบด้วย อย่างกรณีตั้งพระนามสมเด็จพระนามสมเต็จพระมาหสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสเป็นตัวอย่าง
ว่ากันว่า วันที่สมเต็จฯองค์นี้ประสูติมีพายุฝนตกหนักจนน้ำนองชาลาพระตำหนักทั้งที่ก่อนหน้านั้นท้องฟ้าแจ่มใสไม่มีเค้าฝนจะตกเลย พระราชบิดาทรงหวนรำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ ๆ ประทับนั่งใต้ต้นมุจลินท์ (ต้นจิก) ฝนตกหนัก มีพญานาคมาขดรอบพระองค์ แผ่พังพานเหนื่อพระเศียรบังลมและฝนให้ ครั้นฝนหายแล้วจึงจำแลงกายเป็นมานพน้อยเข้ามายืนเฝ้า ทรงเห็นว่าพระราชโอรสประสูติในเวลาอันเป็นมงคล เป็นนิมิตหมายจะเจริญรู่งเรื่องในอนาคต จึงทรงขนานนามว่า พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ แปลว่า "หนุ่มน้อยนาคจำแลงเป็นคน" หรือ "คนนาคน้อย"
มีเกร็ดขำ ๆ เกี่ยวกับพระนามนี้ว่า คราวหนึ่งพระจอมเกล้าฯ ตรัสถามเสด็จพระสังฆราชสาเมื่อครั้งยังเป็นพระศาสนโศภนว่า คนชื่อคนมีไหม พระศาสนโศภณถวายพระพรว่าไม่มี ทรงชี้ไปที่พระองศ์เจ้ามนุษย์นาคมานพ ซึ่งอยู่เบื้องพระปฤษฏางค์ว่า นี่ไงคนชื่อคน

วิธีการตั้งชื่อ ทำอย่างไร

การตั้งฉายาหรือชื่อพระ กับตั้งชื่อฆราวาสไม่เหมือนกัน คือ ฉายาพระใช้อักษรวรรคบริวารนำหน้า สำหรับฆราวาส ถ้าเป็นชายใช้อักษรวรรคเดชนำหน้าชื่อ หญิงใช้อักษรวรรคศรีนำหน้าชื่อ
1-อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ
2-ก ข ค ฆ ง
3-จ ฉ ช ซ ฌ ญ
4-ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ
5-บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม
6-ศ ส ษ ห ฬ ฮ
7-ด ต ถ ท ธ น
8-ย ร ล ว
หมายเลข 1 เป็นเครื่องหมายแทนวันอาทิตย์
หมายเลข 2-แทนวันจันทร์
หมายเลข 3-แทนวันอังคาร
หมายเลข 4-แทนวันพุธกลางวัน
หมายเลข 5-แทนวันพฤหัสบดี
หมายเลข 6-แทนวันศุกร์
หมายเลข 7-แทนวันเสาร์
หมายเลข 8แทนวันราหู หรือ วันพุธกลางคืน
เพื่อให้ง่ายในการใช้งานจึงสรุปได้เป็นดังนี้
อาทิตย์-บริวาร1 อายุ2 เดช3 ศรี4 มูละ7 อุตสาหะ5 มนตรี8 กาลกิณี6
จันทร์-บริวาร2 อายุ3 เดช4 ศรี7 มูละ5 อุตสาหะ8 มนตรี6 กาลกิณี1
อังคาร-บริวาร3 อายุ4 เดช7 ศรี5 มูละ8 อุตสาหะ6 มนตรี1 กาลกิณี2
พุูธ-บริวาร4 อายุ7 เดช5 ศรี8 มูละ6 อุตสาหะ1 มนตรี2 กาลกิณี3
พฤหัสบดี-บริวาร5 อายุ8 เดช6 ศรี1 มูละ2 อุตสาหะ3 มนตรี4 กาลกิณี7
ศุกร์-บริวาร6 อายุ1 เดช2 ศรี3 มูละ4 อุตสาหะ7 มนตรี5 กาลกิณี8
เสาร์-บริวาร7 อายุ5 เดช8 ศรี6 มูละ1 อุตสาหะ2 มนตรี3 กาลกิณี4
พุธกลางคืน-บริวาร8 อายุ6 เดช1 ศรี2 มูละ3 อุตสาหะ4 มนตรี7 กาลกิณี5
อักษรที่ห้ามใช้คืออักษรกาลกิณี

วันพุธที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2553

ชื่อ เพศ อ่าน แปล
ชญานนท์ ชาย ชะยานน ยินดีในความรู้
ชญานิน ชาย ชะยานิน นักปราชญ์
ชญานิศ หญิง ชะยานิด เจ้าแห่งความรู้, ยอดผู้รู้
ชญานิษฐ์ หญิง ชะยานิด มีความรู้น่าพึงพอใจ
ชญานี หญิง ชะยานี ผู้มีความรู้
ชนกชนม์ หญิง/ชาย ชะนกชน เกิดจากบิดา
ชนกนันท์ หญิง/ชาย ชะนกนัน เป็นที่ยินดีของบิดา
ชนกานต์ หญิง ชะนะกาน เป็นที่รักของปวงชน
ชนกันต์ ชาย ชะนะกัน เป็นที่รักของคนทั้งหลาย
ชนน ชาย ชะนน การเกิด, เชื้อสาย
ชนมน หญิง ชะนะมน ใจของคน, ผู้เป็นดุจดวงใจของคน
ชนม์นิภา หญิง ชนนิพา เสมอด้วยชีวิต, รักปานชีวิต
ชนมภูมิ ชาย ชนมะพูม บ้านเกิด, ภูมิลำเนา
ชนรดี หญิง ชนระดี เป็นที่รักแห่งปวงชน
ชนวีร์ ชาย ชะนะวี ชนผู้กล้าหาญ, วีรชนของคนทั้งหลาย
ชนสรณ์ ชาย ชะนะสอน เป็นที่พึ่งของคนทั้งหลาย
ชนะวรรณ ชาย ชะนะวัน ผิวพรรณแห่งคน,
คนผู้มีผิวพรรณสวย
ชนัญชิดา หญิง ชะนันชิดา ผู้ชนะคนอื่น
ชนัญญู ชาย ชะนันยู ผู้รู้จักคน
ชนัต ชาย ชะนัด ฝูงชน, ประชากร
ชนัตร ชาย ชะนัด ร่ม, ร่มกันแดด
ชนากานต์ หญิง ชะนากานต์ เป็นที่รักของคนทั้งหลาย
ชนาธิป ชาย ชะนาทิป ผู้เป็นใหญ่กว่าคนทั้งหลาย
ชนาพร หญิง ชะนาพอน คนผู้ประเสริฐ
ชนาภัทร หญิง ชะนาพัด คนดี, คนเจริญ
ชนาภา หญิง ชะนาพา คนผู้มีความรุ่งเรือง
ชนารดี หญิง ชะนาระดี เป็นที่รักที่พอใจแห่งฝูงชน
ชนิกานต์ หญิง ชะนิกาน เป็นที่รักของผู้บังเกิดเกล้า
ชนิดพ ชาย ชะนิดบ บิดา
ชนิดาภา หญิง ชะนิดาพา ให้เกิดรัศมี
ชนิตพล ชาย ชนิดตะพน ให้เกิดพลัง
ชนิตรา หญิง ชะนิตรา ผู้ให้กำเนิด
ชนิตว์ ชาย/หญิง ชะนิด ผู้ให้กำเนิด
ชนิตสิรี หญิง ชะนิดสิรี ให้เกิดสิริมงคล
ชนิตา หญิง ชะนิตา ให้เกิด, มารดา
ชนินาถ หญิง ชะนินาด เป็นที่พึ่งของมารดา
ชนิภรณ์ หญิง ชะนิพอน ค้ำจุนแม่, เลี้ยงดูแม่
ชนิภา หญิง ชะนิพา แสงสว่างแห่งมารดา
ชนิษฐา หญิง ชะนิดถา ผู้เป็นที่ปรารถนาแห่งปวงชน
ชนิสร ชาย ชะนิสอน เจ้าแห่งคนทั้งหลาย
ชนิสรา หญิง ชะนิดสะรา เป็นใหญ่กว่าคนทั้งหลาย, เจ้าแห่งคน
ชนุดม ชาย ชะนุดม คนผู้สูงสุด, คนผู้ประเสริฐ
ชนุดร ชาย ชะนุดอน คนที่ดีกว่า, ดีกว่าคน (อื่น)
ชนุตม์ ชาย ชะนุด คนที่สูงสุด
ชนุตร์ ชาย ชะนุด คนที่ดีกว่า, ดีกว่าคน (อื่น)
ชโนดม ชาย ชะโนดม คนที่สูงสุด
ชมพูนิกข์ หญิง/ชาย ชมพูนิก แท่งทอง
ชมพูเนกข์ หญิง/ชาย ชมพูเนก แท่งทอง
ชยทัต ชาย ชะยะทัด ให้ชัยชนะ
ชยธร ชาย ชะยะทอน ทรงชัย, มีชัยชนะ
ชยพล ชาย ชะยะพน มีพลังคือชัยชนะ
ชยพัทธ์ ชาย ชะยะพัด เกี่ยวเนื่องกับความชนะ
ชยรพ ชาย ชะยะรบ เสียงร้องด้วยชัยชนะ, เสียงแห่งชัยชนะ
ชยันต์ ชาย ชะยัน ผู้ชนะ
ชยังกูร ชาย ชะยังกูน หน่อเนื้อเชื้อไขแห่งชัยชนะ
ชยากร ชาย ชะยากอน บ่อเกิดแห่งชัยชนะ
ชยานันต์ ชาย ชะยานัน มีชัยชนะหาที่สุดมิได้
ชยานันท์ ชาย ชะยานัน ยินดีในชัยชนะ
ชยาภรณ์ หญิง ชะยาพอน มีชัยชนะเป็นเครื่องประดับ
ชยามร หญิง ชะยามอน มีชัยชนะไม่ตาย, หรือชนะดุจเทวดา
มีชัยชนะอันประเสริฐ
ชยางกูร ชาย ชะยางกูน หน่อเนื้อเชื้อไขแห่งชัยชนะ
ชยิน ชาย ชะยิน ผู้ชนะ
ชยิสรา หญิง ชะยิดสะรา มีชัยชนะอันยิ่งใหญ่, ยิ่งใหญ่ด้วยชัยชนะ
ชยุดา หญิง ชะยุดา รุ่งเรือง
ชยุต ชาย ชะยุด รุ่งเรือง
ชยุตพงศ์ ชาย ชะยุดพง เผ่าพันธุ์ที่รุ่งเรือง
ชยุตม์ ชาย ชะยุด มีชัยชนะอันประเสริฐสุด
ชยุตรา หญิง ชะยุดตรา, มีชัยชนะอันประเสริฐกว่า
ชะยุดตะรา
ชเยศ ชาย ชะเยด ผู้เป็นใหญ่ด้วยชัยชนะ, จอมผู้พิชิต
ชโยดม ชาย ชะโยดม มีชัยอันอุดม
ชลกร หญิง ชนละกอน เมฆหรือมหาสมุทร
ชลธิชา หญิง ชนทิชา เกิดในน้ำ, พระนางลักษมี
ชลนิภา หญิง ชนนิพา เปรียบประดุจน้ำ
ชลพินทุ์ หญิง ชนละพิน หยาดน้ำ
ชลัช ชาย ชะลัด เกิดในน้ำ หมายถึงปลาหรือดอกบัว
ชลัท ชาย ชะลัด ให้น้ำ, เมฆ
ชลันธร ชาย ชะลันทอน ทะเล หรือมหาสมุทร
ชลัมพล ชาย ชะลัมพน ลำธาร
ชลิต ชาย ชะลิด ผู้รุ่งเรืองแล้ว
ชลิตา หญิง ชะลิตา ผู้รุ่งเรืองแล้ว
ชลิตวรรณ หญิง ชะลิดวัน มีผิวพรรณรุ่งเรือง, มีผิวพรรณผ่องใส
ชวกร ชาย ชะวะกอน ผู้สร้างเชาวน์, ผู้มีเชาวน์
ชวลิต ชาย ชะวะลิด รุ่งเรือง, รุ่งโรจน์
ชวัล ชาย ชะวัน ส่องแสง, รุ่งเรือง
ชวัลกร ชาย/หญิง ชะวันกอน รัศมีเรืองรอง, แสงนวลใย
ชวัลนุช หญิง ชะวันนุด หญิงผู้รุ่งเรือง
ชวัลรัตน์ หญิง ชะวันรัด รัตนะอันแวววาว
ชวัลลักษณ์ หญิง ชะวันลัก มีลักษณะอันรุ่งเรือง, มีลักษณะงดงาม
ชวัลวิทย์ ชาย ชะวันวิด มีความรุ่งเรือง
ชวิน ชาย ชะวิน มีความไว, มีเชาวน์ปัญญา
ชวิศ ชาย ชะวิด เจ้าแห่งเชาวน์ปัญญา, ผู้มีไหวพริบเป็นยอด
ชวิศา หญิง ชะวิสา เจ้าแห่งเชาวน์ปัญญา
ชัชชัย ชาย ชัดไช ชัยชนะของนักรบ
ชัชนันท์ ชาย ชัดชะนันท์ ความยินดีของนักรบ, หรือนักรบผู้มีความสุข
ชัชพงศ์ ชาย ชัดชะพง, ชัดพง เชื้อสายนักรบ
ชัชพล ชาย ชัดชะพน, ชัดพล กำลังแห่งนักรบ
ชัชพิมุข ชาย ชัดพิมุก นักรบผู้เป็นหัวหน้า, หัวหน้านักรบ
ชัชพิสิฐ ชาย ชัดพิสิด นักรบผู้พิเศษ
ชัชฤทธิ์ ชาย ชัดชะริด ฤทธิ์ของนักรบ, หรือความสำเร็จของนักรบ
ชัญญา หญิง ชันยา ผู้ประเสริฐ, ผู้รู้
ชัญญานุช หญิง ชันยานุด หญิงสาวผู้ประเสริฐ
ชัพวิชญ์ ชาย ชับพะวิด มีความรู้ฉับไว
ชัยนันท์ ชาย ไชยะนัน ความยินดีของนักรบ, หรือนักรบผู้มีความสุข
ชัยรัมภา หญิง ไชรำพา ชัยชนะของนางฟ้า
ชัยวัฒน์ ชาย ไชยะวัด เจริญด้วยความชนะ
ชาคร ชาย ชาคอน ผู้ตื่นเสมอ, ผู้เพียรพยายาม
ชาคริยา หญิง ชาคริยา ความเพียร, ความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา
ชาตวิทย์ ชาย ชาตะวิด เกิดความรู้
ชาตเวท ชาย ชาตะเวด เปลวไฟ
ชานน ชาย ชานน รู้, ความรู้
ชาลิสา หญิง ชาลิสา เป็นใหญ่ด้วยความรุ่งเรือง
ชิงดวง หญิง ชิงดวง เป็นชื่อของลายเขียนชนิดหนึ่งซึ่งเป็นลายแย่ง
ดอกกัน
ชินกฤต ชาย ชินะกริด สร้างชัยชนะ, มีชัยชนะ
ชินดนัย ชาย ชินดะนัย บุตรผู้ชนะ, บุตรของพระชินะ (พุทธบุตร)
ชินาธิป ชาย ชินาทิบ ผู้ชนะที่ยิ่งใหญ่
ชินารมย์ หญิง ชินารม ยินดีในพระชินเจ้า
ชิตวร ชาย ชิตะวอน มีชัยอันประเสริฐ
ชิติพัทธ์ ชาย ชิติพัด เกี่ยวข้องกับชัยชนะ, มีชัยชนะมั่นคง
ชิติสรรค์ ชาย ชิติสัน สร้างชัยชนะ
ชิษณุชา หญิง ชิดสะนุชา เกิดจากผู้ชนะ
ชิษณุพงศ์ ชาย ชิดสะนุพง เผ่าพันธุ์ของผู้ชนะ
ชีวันธร ชาย ชีวันทอน มีชีวิต, ทรงไว้ซึ่งชีวิต
ชีวาพร หญิง ชีวาพอน มีชีวิตประเสริฐ
ชีวาภร หญิง ชีวาพอน ดำรงชีวิต
ชุดา หญิง ชุดา ส่องสว่าง, เรืองรอง
ชุติกาญจน์ หญิง ชุติกาน รุ่งโรจน์หรืองามดังทอง
ชุติเดช ชาย ชุติเดช มีเดชอันรุ่งเรือง
ชุตเทพ ชาย ชุติเทบ เทวดาผู้รุ่งเรือง
ชุติพนธ์ ชาย ชุติพน เกี่ยวพันกับความรุ่งเรือง, มีความรุ่งเรืองมั่นคง
ชุติภา หญิง ชุติพา รัศมีรุ่งโรจน์
ชุติภาส ชาย ชุติพาด รุ่งเรืองยิ่ง
ชุติมน หญิง ชุติมน มีใจสว่าง, มีใจสะอาด
ชุติมณฑน์ หญิง ชุติมน มีความรุ่งเรืองเป็นเครื่องประดับ
ชุติมดี หญิง ชุติมะดี มีแสงสว่าง, รุ่งโรจน์
ชุติมันต์ ชาย ชุติมัน ผู้มีความรุ่งเรือง, ผู้มีความรุ่งโรจน์
ชุติมา หญิง ชุติมา มีแสงสว่าง, รุ่งโรจน์
ชุติวัต ชาย ชุติวัด ผู้มีความรุ่งเรือง
ชุติศรณ์ ชาย ชุติสอน มีความรุ่งโรจน์เป็นที่พึ่ง
ชุติสรา หญิง ชุติดสะรา เป็นเจ้าแห่งแสงสว่าง, ผู้รุ่งโรจน์ยิ่ง
เชษฐ์ธิดา หญิง เชดทิดา ธิดาคนโต, พี่สาว
เชษฐ์สุดา หญิง เชดสุดา ธิดาคนโต, พี่สาว
โชติกา หญิง โชติกา ผู้รุ่งเรือง, ผู้มีความรุ่งโรจน์
โชติชนิต หญิง โชดชะนิด ผู้ให้เกิดความรุ่งเรือง
โชษิตา หญิง โชสิตา ความสุข, ความบันเทิง, สตรี
ไชยพศ ชาย ไชยะพด ผู้มีอำนาจอันประเสริฐ
ไชยภพ ชาย ไชยะพบ ผู้มีภพอันประเสริฐ
ไชยวัฒน์ ชาย ไชยะวัด มีความเจริญอันประเสริฐ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น